พลายศักดิ์สุรินทร์ 1

เจ้าอาวาสวัดคันเดวิหาร เจ้าของกรรมสิทธิ์ พลายศักดิ์สุรินทร์ ยืนกรานว่า ข้อตกลงคือ เมื่อรักษาช้างเสร็จ ไทยตกลงจะส่งพลายศักดิ์สุรินทร์กลับศรีลังกา

เมื่อวันที่ 2 ก.ค. 2566 เครื่องบินแบบอิลยูชิน อิล-76 ซึ่งเดินทางจากสนามบินบันดารานายาเก กรุงโคลัมโบ ประเทศศรีลังกา ถึงสนามบินเชียงใหม่ เมื่อเวลาประมาณ 14.00 น.

การเคลื่อนย้ายกรงของพลายศักดิ์สุรินทร์ลงจากเครื่องบินเพื่อขึ้นบรรทุกบนเทรลเลอร์ ใช้เวลากว่า 1.30 ชั่วโมง และเคลื่อนย้ายช่วงก่อนเวลา 16.00 น.

จากนั้น จึงขนส่งพลายศักดิ์สุรินทร์ไปรักษาอาการบาดเจ็บที่สถาบันคชบาลแห่งชาติ จ.ลำปาง

ย้อนภารกิจพา พลายศักดิ์สุรินทร์ กลับบ้าน

ภารกิจเคลื่อนย้ายพลายศักดิ์สุรินทร์ เริ่มตั้งแต่คืนวันที่ 1 ก.ค. ที่ผ่านมา เวลา 22.00 น. ตามเวลาท้องถิ่นศรีลังกา โดยขั้นตอนการเคลื่อนย้ายเริ่มที่การนำช้างเดินเข้ากรง ก่อนใช้รถเครนขนาดใหญ่ยกกรงช้างไปไว้บนรถเทรลเลอร์ลากพ่วง หลังจากนั้นเดินทางด้วยรถจากสวนสัตว์ Dehiwala ไปยังสนามบินบันดารานายาเก กรุงโคลัมโบ ประเทศศรีลังกา ซึ่งใช้เวลาทั้งสิ้น ราว 2 ชั่วโมง

หลังจากถึงคาร์โกที่สนามบิน สัตวแพทย์เก็บอุจจาระ ตรวจสอบช้าง และยกช้างเปลี่ยนรถ และเคลื่อนสู่เครื่องบิน พิธีการศุลกากร (ตม.) และโหลดสัมภาระและใช้รถเครนขนาดใหญ่ย้ายกรงช้างจากรถเทรลเลอร์ เพื่อเคลื่อนย้ายเข้าไปในเครื่องบินแบบอิลยูชิน อิล-76 ซึ่งมีกำหนดออกเดินทางในเวลา 7.30 น. ตามเวลาท้องถิ่นศรีลังกา ซึ่งช้ากว่าเวลาในไทย 1.30 ชม.

ระหว่างการเดินทางมายังไทย มีควาญช้างไทย ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่จากสถาบันคชบาลแห่งชาติฯ รวม 3 คน และหัวหน้าชุดควาญจากสวนสัตว์ของศรีลังกา อีก 1 คน ดูแลตลอดการเดินทาง

พลายศักดิ์สุรินทร์ บาดเจ็บหนัก

ดวงตาที่ดูเศร้า แต่ไม่อาจคาดเดาความรู้สึกที่แท้จริง เท้าหลังเหี่ยวย่น ถูกโซ่ตรวนพันธนาการ ร่างขนาดมหึมาของช้างที่ครั้งหนึ่งเคยกำยำ มาวันนี้ ซูบผอม เต็มไปด้วยริ้วรอย นี่คือสภาพของ “พลายศักดิ์สุรินทร์” (Muthu Raja) ทูตสันถวไมตรีของไทย ที่ส่งไปให้รัฐบาลศรีลังกาเมื่อ 22 ปีก่อน

ย้อนไปเมื่อปี พ.ศ. 2544 รัฐบาลไทยได้มอบช้าง 3 เชือก รวมถึง พลายศักดิ์สุรินทร์ ให้รัฐบาลศรีลังกา เพื่อใช้ในการเชิญพระบรมสารีริกธาตุของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในงานแห่พระธาตุประจำปีของศรีลังกา

ผ่านมากว่า 2 ทศวรรษ ข้อเท็จจริงถูกเปิดเผยโดยองค์การรณรงค์เพื่อสิทธิสัตว์ในศรีลังกาว่า พลายศักดิ์สุรินทร์ ไม่ได้รับการดูแล อีกทั้งยังถูกใช้แรงงานอย่างหนัก ทั้งที่เป็นทูตสันถวไมตรีของไทย และมีจุดประสงค์เพื่อแห่พระบรมสารีริกธาตุเป็นหลัก

นายวราวุธ ศิลปอาชา รมว.ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม แถลงข่าวถึงการนำช้างเชือกนี้กลับไทย เขาตอบเพียงว่า “สิ่งที่เกิดขึ้นมาก่อนหน้านั้น เราไม่สามารถก้าวล่วงได้”

ทั้งนี้ นายวราวุธยืนกรานว่า รัฐบาลศรีลังกา และทางวัดคันเดวิหาร (Kande Vihara) ที่ดูแลพลายศักดิ์สุรินทร์ ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี

สำหรับ พลายศักดิ์สุรินทร์ เป็น “ช้างเลี้ยง” ไม่ใช่ช้างป่า เดินทางไปศรีลังกา ตั้งแต่เป็นลูกช้างอายุไม่ถึง 10 ปี ปัจจุบัน อายุราว 30 ปี ถือเป็นช้างวัยเจริญพันธุ์ มีงายาวสวย ซึ่งเป็นคชลักษณ์โดดเด่นที่รัฐบาลศรีลังกาในสมัยนั้น ต้องการ เพื่อนำมาฝึกอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ

อย่างไรก็ดี กรรมสิทธิ์ในตัวช้างนั้น นายวราวุธ และกรมเอเชียตะวันออกกลางและแอฟริกาของกระทรวงการต่างประเทศ ยังไม่สามารถให้คำตอบได้ เพราะเมื่อเดินทางไปถึงในปี 2544 รัฐบาลศรีลังกาได้มอบให้วัดคันเดวิหารเป็นผู้ดูแล และเปลี่ยนชื่อเป็น “มธุราชา”

นางรุ่งนภา พัฒนวิบูลย์ รองอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เปิดเผยว่า จนถึงปัจจุบัน รัฐบาลไทยได้ส่งช้างเป็นทูตสัมภวไมตรีให้ต่างประเทศ รวม 10 เชือก ในจำนวนนี้มี ฮานาโกะ ที่ล้มในญี่ปุ่น เมื่อปี 2559 ด้วย

ด้าน รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ยืนกรานว่า นับแต่ตนขึ้นเป็นรัฐมนตรี รัฐบาลไทย “ยกเลิกนโยบายส่งช้างไปต่างประเทศโดยสมบูรณ์แล้ว” ส่วนค่าใช้จ่ายการนำพลายศักดิ์สุรินทร์กลับไทย ประเมินจนถึงตอนนี้อยู่ที่กว่า 19 ล้านบาท

ย้อนไทมไลน์ช้างไทยในศรีลังกาอาการย่ำแย่

องค์กรที่ออกมาแสดงความเป็นห่วงในเรื่องนี้ในตอนต้น คือ องค์การรณรงค์เพื่อสิทธิสัตว์และสิ่งแวดล้อม หรือ แรร์ (RARE) ในศรีลังกา หลังตรวจพบการใช้แรงงานหนัก การดูแลพลายศักดิ์สุรินทร์ที่ไม่ดี อีกทั้งยังป่วยทำให้ต้องได้รับการรักษาพยาบาลเร่งด่วนด้วย

ต่อมา ไทยพีบีเอสรายงานเมื่อวันที่ 24 ส.ค. 2565 ว่า สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงโคลัมโบ ได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงเบื้องต้น พบว่า พลายศักดิ์สุรินทร์มีสุขภาพและสภาพความเป็นอยู่ไม่ดี จึงได้ร่วมกับคณะสัตวแพทย์และผู้เชี่ยวชาญไทย จากกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช องค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์ และองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ เดินทางไปตรวจสุขภาพและความเป็นอยู่ของพลายศักดิ์สุรินทร์

ไทยพีบีเอสระบุว่า คณะสัตวแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเห็นว่า ควรให้พลายศักดิ์สุรินทร์หยุดการทำงานและส่งตัวกลับมารักษาอาการป่วยที่ประเทศไทย ซึ่งตั้งแต่วันที่ 9 พ.ย. 2565 พลายศักดิ์สุรินทร์ ถูกนำตัวไปรักษาและฟื้นฟูสุขภาพเบื้องต้นที่สวนสัตว์เดหิวารา โดยมีคณะผู้เชี่ยวชาญไทยและศรีลังกาให้การดูแล

สภาพความเป็นอยู่ของพลายศักดิ์สุรินทร์ที่ช่างภาพเอเอฟพีบันทึกภาพไว้เมื่อเดือน เม.ย. เผยให้เห็นร่างกายที่ซูบผอม ผิวหนังแตกลาย ขาหลังถูกล่ามด้วยโซ่ อาศัยอยู่ในคอกช้างที่เปิดโล่ง ซึ่งภายหลังมีข่าวสภาพความเป็นอยู่ที่ย่ำแย่ ก็มีการเผยแพร่ภาพคนไทยที่อาศัยอยู่ในศรีลังกา นำผลไม้ไปให้พลายศักดิ์สุรินทร์

สำหรับอาการบาดเจ็บภายนอกนั้น พลายศักดิ์สุรินทร์ ปรากฏฝีขนาดใหญ่ 2 จุด ฝ่าเท้าบาง งอเท้าไม่ได้ ส่วนอาการป่วยภายในนั้น พบว่า มีภาวะโลหิตจากบางส่วน โปรตีนในเลือดต่ำกว่าปกติ ทั้งนี้ เมื่อนำมารักษาที่สวนสัตว์เดหิวาราแล้ว สุขภาพร่างกายดีขึ้นมาก

พลายศักดิ์สุรินทร์ 2

ช้างไทยในต่างประเทศ

สำหรับช้างที่ไทยส่งให้รัฐบาลศรีลังกา มีทั้งหมด 3 เชือกตามที่ศรีลังการะบุในเอกสารว่า ขอเพื่อนำไปเป็นช้างแห่พระเขี้ยวแก้ว โดยตัวแรก คือ “พลายประตูผา” ถูกส่งไปเมื่อปี 2523 ขณะที่ พลายศรีณรงค์ และพลายศักดิสุรินทร์ ถูกส่งไปพร้อมกันในปี 2544

กระทรวงการต่างประเทศระบุว่า จากตรวจสอบพบว่า พลายประตูผา และพลายศรีณรงค์ แม้จะมีการใช้งานไม่ตรงตามวัตถุประสงค์ในการขอไปจากไทย แต่มีสภาพความเป็นอยู่ดีกว่าพลายศักดิ์สุรินทร์

รองอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ระบุว่า แม้การส่ง “ช้างเลี้ยง” ไปต่างประเทศ จะไม่ได้เป็นความรับผิดชอบโดยตรงของทางกรมฯ แต่เนื่องจากทางกรมฯ เป็นผู้ออกใบอนุญาตให้ ทำให้มีข้อมูลพบว่า จนถึงปัจจุบัน รัฐบาลไทยได้ส่งช้างเป็นทูตสัมถวไมตรีให้ต่างประเทศ รวม 10 เชือก อาทิ

ฮานาโกะ ที่ล้มในญี่ปุ่น เมื่อปี 2559

พลายศักดิ์สุรินทร์ อาศัยในศรีลังกา ตั้งแต่ปี 2544

พลายศรีณรงค์ อาศัยในศรีลังกา ตั้งแต่ปี 2544

พลายประตูผา อาศัยในศรีลังกา ตั้งแต่ปี 2523

ช้างไทย 4 เชือก คือ กันเกรา สุรินทร์ พลายศัก และมูน ในเดนมาร์ก (เกิดในเดนมาร์ก)

ต้นสัก อาศัยในสวีเดน ตั้งแต่ปี 2558 (ได้รับจากประเทศเดนมาร์กให้ยืมเป็นพ่อพันธุ์)

ภารกิจที่ต้องล่าช้าไป

เมื่อปลายเดือน พ.ค. น.ส.กัญจนา ศิลปอาชา ประธานที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนา และพี่สาวของ รมว.ทส. โพสต์ผ่านสังคมออนไลน์ส่วนบุคคลว่า เธอจะเดินทางด้วยตัวเองไปรับพลายศักดิ์สุรินทร์กลับไทยในวันที่ 1 ก.ค. 2566 และจะส่งตัวไปรักษาและดูแลชีวิตบั้นปลายที่ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย จ.ลำปาง

นายวราวุธ รมว.ทส. ยืนยันว่า น.ส.กัญจนา เป็น “คนจุดประเด็น” และ “ช่วยเจรจา” เพื่อเคลื่อนย้ายพลายศักดิ์สุรินทร์กลับไทยจริง โดยทีมสัตว์แพทย์ และกองไซเตส กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช รววมทั้งจากองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ ชุดแรกได้เดินทางถึงศรีลังกาแล้ว ขณะที่ควาญช้างจะเดินทางไปสมทบในวันที่ 10 มิ.ย.

.“สิ่งที่เกิดขึ้นมาก่อนหน้านั้น เราไม่สามารถก้าวล่วงได้” วราวุธ กล่าว

การเคลื่อนย้ายพลายศักดิ์สุรินทร์ จะมีการใช้กรงสร้างพิเศษในศรีลังกา น้ำหนักถึง 3.5 ตัน ซึ่งตอนนี้ก่อสร้างไปแล้ว 90% ซึ่งระหว่างนี้ จะให้ควาญช้างฝึกให้พลายศักดิ์สุรินทร์ฝึกเดินเข้า-ออกกรุง เพื่อความคุ้นชิน โดยเน้นความปลอดภัยสูงสุด

นายวราวุธ กล่าวว่า อันที่จริง รัฐบาลไทยมีแผนนำพลายศักดิ์สุรินทร์ เคลื่อนย้ายกลับมาประเทศไทยตั้งแต่ต้นปี 2566 แล้ว แต่พลายฯ เกิดอาการตกมันเสียก่อน ทำให้ยังไม่สามารถเคลื่อนย้ายมาได้ในทันที


ข่าวอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
TikTok เปลี่ยนสุนัขของพวกเขาเป็นตุ๊กตาบาร์บี้ต้องคำสาป
Liaoning อ้างสิทธิ์ในตำแหน่ง CBA ที่สามในประวัติศาสตร์ทีม
ค่าครองชีพ: Swim Wales เตือน 150 สระว่ายน้ำอาจปิด
ก๊าซขึ้นราคาวันนี้! เดือนหน้าส่อแววขึ้นอีก
ติดตามข่าวอื่นๆได้ที่ https://samesake.com/
สนับสนุนโดย  ufabet369
ที่มา www.bbc.com