บราซิล

เลือกตั้งในบราซิล ที่ผ่านมา ผู้มีสิทธิลงคะแนน เลือกตั้งจำนวนมากที่สุด

มันคือ การทดสอบสำคัญ ต่อระบอบการเมืองของประเทศบราซิล โดยการเลือกตั้งในบราซิล วันที่ 2 ตุลาคมที่ผ่านมา มีผู้มีสิทธิในการลงคะแนนเลือกตั้ง จำนวนมากที่สุด เท่าที่เคยมีมาในประวัติศาสตร์ ชาติบราซิล โดยจะมีจำนวณ ประชาชนมากกว่า 150 ล้านคน เข้าไปใช้สิทธิในการเลือก สมาชิกสภาท้องถิ่น และผู้ว่าการรัฐ

อีกทั้งยังรวมไปถึง สมาชิกวุฒิสภา และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แต่สิ่งที่น่าจับตามองของคนทั้งโลกนั้นก็คือ การเลือกตั้งประธานาธิบดีบราซิล โดยมีสองฝั่งที่น่าสนใจ นั้นก็คือ นายลูอิซ อินาชิโอ ลูลาดาซิลวา อดีตประธานาธิบดี กับนายชาอีร์ โบลโซนาโร ประธานาธิบดีคนปัจจุบัน โดยการเลือกตั้งในครั้งนี้ เป็นการเลือกตั้ง ที่มีการฝักแบ่งฝ่ายเป็นอย่างมาก

แต่จะรู้ผลชี้ขาดได้ทันที หลังการจัดการเลือกตั้ง ระหว่างผู้ท้าชิงทั้ง 2 คน ใครจะได้รับคะแนนโหวตมากที่สุด แต่หากไม่มีคนไหน ได้รับคะแนนเสียงเกิน 50% จากผู้สมัครประธานาธิบดี จำนวณ 11 คนเลย อาจจะส่งผลกระทบรุนแรง ออกไปสู่โลกภายนอกได้ โดยเฉพาะประเทศที่มีขนาดใหญ่ที่สุด มีจำนวนประชากรมากที่สุด ในแถบลาตินอเมริกา

บราซิล

โลกกำลังจับตามองการเลือกตั้งนี้อยู่ โดยสหรัฐฯ ได้เรียกร้องให้รัฐบาลของนายโบลโซนาโร “เคารพกระบวนการประชาธิปไตย”

หลังประธานาธิบดีคนปัจจุบัน ตั้งคำถามต่อระบบการเลือกตั้ง อิเล็กทรอนิกส์ของประเทศ เมื่อ 22 ก.ย. สหประชาชาติได้ออกแถลงการณ์ เรียกร้องเจ้าหน้าที่ทางการ ผู้สมัครและบรรดาพรรคการเมือง ในบราซิล “ให้ความมั่นใจว่า การเลือกตั้งที่กำลัง จะมาถึงจะสงบเรียบร้อย และมีการป้องกันความรุนแรงที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้ง”

ข้อมูลจากศาลสูงสุดแผนกเลือกตั้ง (Supreme Electoral Court–TSE) ของบราซิล คาดว่า จะมีจำนวนองค์กรระหว่างประเทศ เข้าสังเกตการณ์การเลือกตั้งครั้งนี้มากเป็นประวัติการณ์ แต่บรรยากาศที่ร้อนแรงไม่ใช่เพียงเหตุผลเดียว ที่ผู้คนทั่วโลกจะต้องจับตามอง การเลือกตั้งในวันที่ 2 ต.ค. นี้

อนาคตของป่าฝนผืนใหญ่ที่สุดในโลกแห่งนี้อาจเป็นหนึ่งในเดิมพันของการเลือกตั้งนี้ หากพิจารณาจากประวัติด้านสิ่งแวดล้อมของผู้สมัครทั้ง 2 คน ในช่วงที่ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีบราซิล 2 สมัย (2003-2010) ลูลาได้ลดอัตราการตัดไม้ทำลายป่า ในแอมะซอนลง ด้วยการลดการตัดไม้ผิดกฎหมาย, การทำเหมือง และการทำฟาร์มวัวในภูมิภาค

ซึ่งการอนุรักษ์ป่าแห่งนี้ มีส่วนสำคัญอย่างมาก ในความพยายามบรรเทา ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ขณะที่อัตราการทำลายป่าได้เพิ่มสูงขึ้น ก่อนหน้าที่นายโบลโซนาโรจะคว้าชัย การเลือกตั้งในปี 2018 และอัตรานี้ก็ยังคงอยู่ในระดับหนึ่ง นับตั้งแต่เขาสาบานตนเข้ารับตำแหน่งในเดือน ม.ค. 2019

รายงานของสถาบันวิจัยสิ่งแวดล้อมแอมะซอน (Institute for Amazon Environmental Research) ของบราซิล

ที่เผยแพร่ก่อนหน้านี้ในปีนี้อ้างว่า การตัดไม้ทำลายป่าได้เพิ่มขึ้นเกือบ 57% ในช่วงที่โบลโซนาโรเข้ามาดูแล ประธานาธิบดีฝ่ายขวาจัดผู้นี้ ปกป้องการสำรวจแอมะซอน เพื่อการพาณิชย์อย่างเปิดเผย และได้ต่อต้านการคุ้มครองที่ดินของชนพื้นเมือง เขาเป็นผู้นำบราซิลคนแรกนับตั้งแต่ปี 1988 ที่ไม่ยอมลงนามในคำสั่งทางการบริหาร ในการกำหนดเขตของชนพื้นเมือง

บรรดารัฐบาลต่างชาติ และกลุ่มสิ่งแวดล้อมต่างๆ ได้แสดงความกังวลต่อสถานการณ์นี้ ทาอีส บานน์วาร์ต โฆษกของกรีนพีซ (Greenpeace) กล่าวกับบีบีซีว่า การเลือกตั้ง “จำเป็นต้องส่งสัญญาณว่า จะไม่อดทนต่อการเมินเฉยมรดกทางสิ่งแวดล้อม”

“บรรดานักวิทยาศาสตร์เตือนแล้วว่า แอมะซอนกำลังเข้าใกล้สิ่งที่เรียกว่า ‘จุดพลิกผัน’ ซึ่งป่าจะสูญเสียความสามารถในการฟื้นตัวเองขึ้นมาใหม่ หลังเผชิญกับเหตุการณ์หลายอย่างเช่น ภัยแล้ง, ไฟป่า และการล้มของต้นไม้” บานน์วาร์ต กล่าว

“ในช่วงเกือบ 4 ปีที่ผ่านมา รัฐบาลของโบลโซนาโรแสดงให้เห็นแล้วผ่านทางคำพูด การกระทำและมาตรการต่างๆ เขาสบประมาทหน่วยงานคุ้มครองสิ่งแวดล้อม, ชนพื้นเมือง, นักเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อม และประชาธิปไตย”

โบลโซนาโร มีท่าทีที่เป็นมิตรมากกว่า ในเวทีระหว่างประเทศ โดยที่การประชุมสมัชชาใหญ่สหประชาชาติในเดือนนี้ เขาได้อ้างว่า สื่อรายงานเรื่องเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมของเขาอย่างไม่เป็นธรรม “ในแง่ของการพัฒนาอย่างยั่งยืนและสิ่งแวดล้อม บราซิลเป็นส่วนหนึ่งของทางออกและเป็นตัวอย่างให้แก่โลกนี้” เขากล่าว

บราซิลมีความสำคัญทั้งทางเศรษฐกิจและการเมือง

นอกจากจะเป็นประเทศที่มีจำนวนประชากรมากที่สุดและมีขนาดใหญ่ที่สุดในลาตินอเมริกาแล้ว บราซิลยังเป็นหนึ่งในประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดใน 15 อันดับแรกของโลก และเป็นชาติที่มีบทบาทสำคัญในการค้าระดับโลกในบางภาคส่วน บราซิลเป็นผู้นำในการผลิตสินค้าอย่าง ถั่วเหลือง, เนื้อวัว และแร่เหล็ก และเป็นคู่ค้าที่สำคัญกับทั้งสหรัฐฯ และจีน

ดังนั้น การเลือกตั้งที่วุ่นวาย หรือช่วงหลังการเลือกตั้ง จึงเป็นช่วงที่น่าจะสร้างความกังวลต่อนานาประเทศ ลีโอนาร์โด ฟอนทิส นักสังคมวิทยาของบราซิล และผู้เชี่ยวชาญด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เชื่อว่า “ประชาธิปไตยอ่อนหัด” ของประเทศ จะเผชิญกับการทดสอบ เนื่องจากโบลโซนาโรตั้งคำถามต่อระบบการเลือกตั้งอิเล็กทรอนิกส์หลายครั้ง

ซึ่งนำไปสู่การคาดเดาว่า บรรดาผู้สนับสนุนของชายที่มีฉายาว่า “โดนัลด์ ทรัมป์ แห่งเขตร้อน” ผู้นี้ อาจจะก่อจลาจลหลังการเลือกตั้งในแบบเดียวกับที่เกิดขึ้นกับรัฐสภาสหรัฐฯ เมื่อ 6 ม.ค. 2021 “ระบอบประชาธิปไตยที่ใช้อยู่ในประเทศตะวันตกหลายแห่งเผชิญกับการคุกคาม และเราได้เห็นสัญญาณเหล่านั้นในบราซิลแล้ว” ฟอนทิส อธิบาย

“เราจำเป็นต้องดูว่า โบลโซนาโรจะทำอะไรในกรณีที่เขาแพ้ แต่ก็เป็นการสมเหตุสมผลที่จะบอกว่า ประชาธิปไตยกำลังถูกทดสอบในบราซิล” การใช้ถ้อยคำที่ร้อนแรงของโบลโซนาโรตามมาด้วยการออกกฎหมายผ่อนคลายกฎการเป็นเจ้าของปืนในบราซิล จากข้อมูลของกองทัพและตำรวจบราซิลที่ผ่านการวิเคราะห์ของ Sou da Paz สถาบันวิจัยด้านความมั่นคงของบราซิล

ระบุว่า นับตั้งแต่ปี 2018 จำนวนปืนของเอกชนเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่ามาอยู่ที่เกือบ 2 ล้านกระบอกแล้ว “ปัจจุบัน เรามีกองทัพพลเรือนติดอาวุธจริง ๆ และสถานการณ์นี้น่ากังวลใจอย่างมาก” คาโรลีนา รีคาร์ดู ผู้อำนวยการบริหารของ Sou da Paz กล่าว นอกจากนี้ยังมีความกังวลเกี่ยวกับบทบาท ของกองทัพในช่วงหลังการเลือกตั้งด้วย

บราซิลเคยถูกปกครองด้วยทหารมาก่อนระหว่างปี 1964-1985 และประธานาธิบดีโบลโซนาโร เป็นอดีตร้อยเอกของกองทัพบก ส่วนนายฮามิลตัน โมเรา รองประธานาธิบดี ของเขามียศพลเอก แต่บรรดาผู้เชี่ยวชาญกล่าวกับบีบีซีเมื่อเดือนที่แล้วว่า พวกเขาไม่เห็นความกระหาย ในการก่อรัฐประหารจากคนของกองทัพ

อีกสมรภูมิหนึ่งคือการต่อสู้กัน ด้วยข้อมูลข่าวสารอันเป็นเท็จ มีความกังวลเป็นอย่างยิ่งเกี่ยวกับการใช้โซเชียลมีเดียในการแพร่ข่าวลือ ในช่วงการหาเสียงเลือกตั้ง โดยเฉพาะวอตส์แอปป์ (WhatsApp) บริการส่งข้อความที่มีคนใช้งานมากที่สุดในบราซิล ในการให้สัมภาษณ์กับหนังสือพิมพ์ Estado de S. Paulo ของบราซิล ดารีอู ดูรีกัน หัวหน้าด้านนโยบายสาธารณะของวอตส์แอปป์ในบราซิล

ขอบคุณแหล่งที่มา : bbc.com

สามารถอัพเดตข่าวสารเรื่องราวต่างๆได้ที่ : samesake.com